เด็กควรได้
อยู่ในครอบครัว
ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงของเรานั้นเรียบง่าย
หากเราทำการจัดบริการ เดินหน้าพัฒนาขีดความสามารถ รณรงค์พิทักษ์สิทธิประโยชน์ และประสานร่วมมือกับพลังทางสังคม เมื่อนั้นครอบครัวก็จะมีทักษะและเครื่องมือต่างๆ ที่จำเป็นในการเลี้ยงดูบุตรหลานตามสายเลือดในบ้านของพวกเขาเอง หรือหากเป็นกรณีที่ครอบครัวตามสายเลือดไม่สามารถให้การเลี้ยงดูที่เหมะสมได้ เด็กจะได้รับการอุปการะในรูปแบบของเลี้ยงดูทดแทนที่ใช้ครอบครัวเป็นฐาน
คลิกบนไอคอนเพื่อไปยังส่วนที่ท่านต้องการข้อมูลเฉพาะ
เราจินตนาการถึงประเทศไทยที่เด็กทุกคนเติบโตในครอบครัวที่ปลอดภัยและได้รับการเอาใจใส่ดูแล
บริการต่างๆ ของเรา
ทีมงานของเราส่งตรงการจัดบริการที่มาพร้อมกับนวัตกรรมและความต่อเนื่องในรูปแบบที่ทำงานกับครอบครัวซึ่งอยู่ตามชุมชนชายขอบสังคมเพื่อร่วมกับพวกเขาในการปกป้องดูแลและส่งเสริมบุตรหลานของพวกเขา ไม่ว่าจะเป็นทั้งในบริบทของชุมชนเมืองหรือชุมชนในแถบชนบททางภาคใต้ เราเริ่มต้นด้วยจุดแข็ง ไม่ใช่จุดอ่อนด้อยใดๆ ด้วยการหนุนเสริมที่เหมาะสม การใช้รูปแบบการเป็นพี่เลี้ยงในการถ่ายทอด สนับสนุน เพื่อให้เกิดความรู้ และประสบการณ์ในการพัฒนาที่ดีขึ้น ตลอดจนให้การแนะแนวช่วยเหลือที่เน้นการพัฒนาความรู้และเพิ่มทักษะผ่านการลงมือปฏิบัติ ทั้งหมดนั้นเราเชื่อว่าสามารถเป็นการสร้างป้อมปราการที่เข็มแข็งและส่งเสริมครอบครัวให้จำเริญขึ้น

1. โครงการรักษ์ครอบครัว
“รักษ์ครอบครัว” ถือเป็นโครงการสำคัญของมูลนิธิก้าวหน้าพัฒนา ซึ่งเป็นโครงการที่มีเนื้อหาครอบคลุม เน้นการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ผ่านระยะเวลาการดำเนินการ 18 เดือน โดยแบบแผนของโครงการสร้างขึ้นเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพื่อป้องกันการพลัดพรากของครอบครัว โครงการรักษ์ครอบครัวมอบเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับครอบครัวเพื่อให้ประสบความสำเร็จในการสร้างสภาพแวดล้อมของบ้านที่มั่นคง ปลอดภัย และอบอุ่นเพื่อเลี้ยงดูลูกๆ ของพวกเขา โดยผ่านรูปแบบการฝึกอบรมที่เน้นการพัฒนาแบบองค์รวม ทุนสำหรับแผนการสร้างรายได้รายเดือน โอกาสทางศึกษา การสนับสนุนทางด้านจิตสังคม และการเข้าถึงบริการทางสุขภาพ ครอบครัวได้รับการเสริมสร้างให้เข้มแข็ง
คลิกบนรูปภาพด้านล่างเพื่อศึกษาการเดินทางของรักษ์ครอบครัวจากภาพจินตทัศน์
พัฒนาทักษะ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 – ครอบครัวคืออะไร?
- แผนผังครอบครัว
- ผังนิเวศครอบครัว หรือ แผนที่สังคมมิติ
- แบบสอบถามเหตุการณ์ในชีวิตล่าสุด
- ระดับกิจกรรมของครอบครัว
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 – การเงินของครอบครัว
- แผนการเงินรายวัน
- แผนการลดหนี้
- ความคาดหวังของครอบครัวส่วนขยาย
- แผนฉุกเฉิน
- การออมเพื่อ “ความจำเป็น” และ “ความต้องการ”
- การพูดคุยหารือหัวข้อความอยู่ดีมีสุข
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 – การคุ้มครองเด็ก
- รูปแบบต่างๆ ของการล่วงละเมิด
- สิ่งที่ควรทำและสิ่งที่ไม่ควรทำ
- แหล่งทรัพยากรทางสุขภาพ
- การปกป้องภายในบ้าน
- แผนสำหรับความปลอดภัย
- พื้นที่ปลอดภัยในชุมชน
- การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและศักยภาพ
ร่วมวางแผนกลยุทธ์
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 – การดำรงชีพที่ยั่งยืน
- แนวคิดการทำธุรกิจ
- แบบสำรวจอย่างง่าย
- แผนธุรกิจ
- แผนการจัดการ
- กลยุทธ์ทางการตลาด
- ทุนสำหรับแผนการสร้างรายได้รายเดือน
สังเคราะห์คิดเพิ่มประสิทธิภาพ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 – การเลี้ยงดูเชิงบวก
- บทบาทความรับผิดชอบของการเป็นผู้ปกครอง
- หลักในการสร้างวินัยเชิงบวก
- การสร้างวินัยกับการลงโทษ
- การพูดคุยสอบถามทั่วไปเกี่ยวกับการเลี้ยงดูบุตรหลาน
- เครื่องมือผู้ปกครอง
หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 – สุขภาพและสุขอนามัย
- นิสัยที่ดีและนิสัยที่ไม่ดีของเด็ก
- ตำแหน่งที่ตั้งของแหล่งทรัพยากรทางสุขภาพ
- การปรับใช้ด้านสุขภาพและสุขอนามัย
- นิสัยใหม่ที่ดีต่อสุขภาพ
- นิสัยใหม่ที่ดีต่อสุขภาพของครัวเรือน
หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 – ทักษะในการสื่อสาร
- แผนในการปรับปรุงวิธีการสื่อสาร
- แนวทางการแก้ไขความขัดแย้ง 5 ขั้นตอน
- ความขัดแย้งกับบุตรหลาน
- พูดคุยหารือเพื่อติดตามการปรับปรุงแก้ไข
ดำรงอยู่อย่างยั่งยืน
หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 – ปัญหาสังคม 1
- ทบทวนเกี่ยวกับการค้ามนุษย์
- ทบทวนเกี่ยวกับเหยื่อจากการค้ามนุษย์
- เรื่องราวของการอพยพย้ายถิ่นฐาน
- ทบทวนเกี่ยวกับสิทธิของแรงงานข้ามชาติ
- ทบทวนเกี่ยวกับความปลอดภัยทางอินเตอร์เน็ต
- พูดคุยกับผู้นำชุมชนเกี่ยวกับภัยคุกคามภายนอก
หน่วยการเรียนรู้ที่ 9 – ปัญหาสังคม 2
- ทบทวนเกี่ยวกับความรุนแรงในครอบครัว
- เกร็ดความรู้ในการเข้าระงับเหตุความรุนแรงที่เกิดขึ้นในครอบครัว
- ทบทวนเนื้อหาการฝึกอบรมเกี่ยวกับยาเสพติด
- แหล่งข้อมูลเพื่อเลิกสิ่งเสพติด
- ทบทวนเนื้อหาการฝึกอบรมเกี่ยวกับการพนัน
- ทบทวนเนื้อหาเกี่ยวกับงบประมาณของครอบครัว

2. คืนสู่อ้อมกอดครอบครัว
นอกเหนือจากการเป็นทำงานกับครอบครัวไทยแล้ว มูลนิธิก้าวหน้าพัฒนายังมีการจัดบริการให้แก่กลุ่มเป้าหมายที่เป็นครอบครัวผู้ลี้ภัยและครอบครัวของผู้แสวงหาที่พักพิงในพื้นที่กรุงเทพฯ อีกด้วย
ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2562 รัฐบาลไทยซึ่งประกอบไปด้วย 7 กระทรวงที่เกี่ยวข้องได้ทำการลงนามบันทึกความเข้าใจใน การกำหนดมาตรการและแนวทางแทนการกักตัวเด็กไว้ในสถานกักตัวคนต่างด้าวเพื่อรอการส่งกลับ โดยยึดหลักการสำคัญ คือ การไม่กักตัวเด็กในห้องกักตรวจคนเข้าเมืองและคำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของเด็ก ในการนี้ช่วยให้ผู้เป็นมารดาได้รับการปล่อยตัวจากศูนย์กักกันตรวจคนเข้าเมืองและได้อยู่พร้อมหน้ากับบุตรของพวกเขาอีกครั้ง มูลนิธิก้าวหน้าพัฒนาประสานความร่วมมือกับรัฐบาลไทย องค์กรด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศซึ่งเป็นหน่วยงานของสหประชาชาติ อาทิ สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (IOM) และองค์กรเอกชนที่ทำงานด้านการจัดบริการในงานเชิงประเด็นนี้ ทั้งนี้เพื่อการช่วยให้ผู้เป็นมารดาได้รับอิสรภาพจากการถูกกักกันจากห้องกักตรวจคนเข้าเมือง ได้รับการพิทักษ์สิทธิประโยชน์จากบริการที่จำเป็นที่ช่วยให้ในการดำรงชีวิต และที่สำคัญไปกว่านั้นคือการรักษาไว้ซึ่งสถาบันครอบครัว

3. ครอบครัวอุปถัมภ์
มูลนิธิก้าวหน้าพัฒนาร่วมมือกับมูลนิธิสายเด็กประเทศไทยในการทำงานบุกเบิกริเริ่มโครงการการครอบครัวอุปถัมภ์ในการจัดหาทางเลือกการดูแลโดยใช้ครอบครัวเป็นฐานสำหรับเด็กที่เป็นผู้แสวงหาที่พักพิง/เด็กลี้ภัยที่ถูกคุมขังในสถานกักกันตรวจคนเข้าเมืองของกรุงเทพฯ
โดยก่อนที่รัฐบาลไทยจะมีการลงนามบันทึกความเข้าใจไม่กักตัวเด็กในห้องกักตรวจคนเข้าเมืองนั้น มูลนิธิก้าวหน้าพัฒนาดำเนินการจัดหาครอบครัวอุปถัมภ์สำหรับเด็กที่มีความจำเป็นเร่งด่วนในขณะที่มารดายังถูกควบคุมตัวอยู่
เรารู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้เป็นคณะทำงานร่วมกับรัฐบาลในการยกร่างมาตรฐานของงานครอบครัวอุปถัมภ์ซึ่งมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจ โดยความสำเร็จอันน่าทึ่งนี้ทำให้ผู้เป็นมารดาได้รับการปล่อยตัวจากศูนย์กักกันตรวจคนเข้าเมืองและได้อยู่พร้อมหน้ากับบุตรของพวกเขาอีกครั้ง ซึ่งสำเร็จที่เกิดขึ้นช่วยให้มูลนิธิก้าวหน้าพัฒนาได้เริ่มต้นโครงการคืนสู่อ้อมกอดครอบครัวโดยผ่านการร่วมมือกับ Liferaft International
มูลนิธิก้าวหน้าพัฒนายังคงมุ่งมั่นทำงานในการจัดหาบ้านสำหรับเด็กที่เป็นผู้แสวงหาที่พักพิง เด็กลี้ภัย และเด็กเคลื่อนย้ายที่เดินทางโดยลำพังที่ไม่มีครอบครัว นอกเหนือการบริการด้านงานครอบครัวอุปถัมภ์สำหรับเด็กเคลื่อนย้ายที่เดินทางโดยลำพังแล้ว มูลนิธิก้าวหน้าพัฒนาได้มีการขยายงานที่ครอบคลุมไปถึงการสรรหาครอบครัวอุปถัมภ์ที่สามารถรองรับเด็กลี้ภัยที่ถูกล่วงละเมิด ถูกละเลยทอดทิ้ง หรือถูกแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ โดยครอบครัวอุปถัมภ์จะได้รับการอบรมเตรียมความพร้อมเพื่อให้สามารถตอบสนองต่อความจำเป็นต่างๆ ของเด็กได้
มูลนิธิก้าวหน้าพัฒนาได้รับเชิญให้เข้าร่วมเป็นคณะทำงานเกี่ยวกับนโยบายครอบครัวอุปถัมภ์ของรัฐบาลซึ่งขณะนี้กำลังเปิดตัวใน 20 จังหวัด โดยมีเป้าหมายให้ทั้ง 77 จังหวัดเริ่มโครงการครอบครัวอุปถัมภ์ เรายังคงเดินหน้าต่อไปในการจัดทำร่างมาตรฐานครอบครัวอุปถัมภ์และมองถึงการบรรลุชิ้นงานนี้ภายในปี 2564
สนใจที่จะเปิดบ้านหรือเรียนรู้เกี่ยวกับการมีส่วนของคุณทางใดทางหนึ่งหรือไม่?
เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการฝึกอบรมครอบครัวอุปถัมภ์
การพัฒนาขีดความสามารถ
การพัฒนาขีดความสามารถเป็นกุญแจสำคัญในการสร้าง การพัฒนา และการคงไว้ของทักษะ ความรู้ รวมไปถึงเครื่องมือที่จำเป็นต่อการเห็นเด็กในประเทศไทยที่จะเติบโตขึ้นในครอบครัวที่ปลอดภัยและได้รับการใส่ใจดูแล
โดยเริ่มต้นมากจากการมีเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ความสามารถและมุ่งมั่นที่จะเรียนรู้ตลอดชีวิต เมื่อเรารู้มากขึ้น เราจะทำได้ดีขึ้น
มูลนิธิก้าวหน้าพัฒนาทำงานร่วมกับครอบครัวเสมือนญาติสนิทมิตรสหายที่รับฟัง และใช้ประสบการณ์ที่มีร่วมกันจากบริการของโครงการมาใช้ทั้งเพื่อเรียนผูกและเรียนแก้และเพื่อพัฒนาให้ไปในแนวทางที่ดีขึ้น นอกจากนี้เรายังช่วยในการเสริมสร้างขีดความสามารถของพวกเขาผ่านรูปแบบของการฝึกอบรม การเป็นพี่เลี้ยงเพื่อเคียงข้างสนับสนุน และการแนะแนวช่วยเหลือที่เน้นการพัฒนาความรู้และเพิ่มทักษะผ่านการลงมือปฏิบัติ
เราเชื่อว่าพลังทางสังคมที่เข้มแข็งในภาครัฐและภาคประชาสังคมมีส่วนสำคัญในการปกป้องให้เด็กได้ดำรงอยู่ในสถาบันครอบครัว เราทำการจัดฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะและความสามารถที่เป็นแกนหลักสำคัญในการให้การดูแลเด็กกำพร้า รวมไปถึงเด็กและครอบครัวที่ดำรงชีวิตอยู่ในพื้นที่ซึ่งขาดแคลนทรัพยากร
“ความเปลี่ยนแปลงคือ
ผลลัพธ์ของการเรียนรู้
ที่แท้จริง”
Leo Buscaglia
พันธมิตรแห่งการเรียนรู้ของเรา
มูลนิธิก้าวหน้าพัฒนารู้สึกขอบคุณทุกองค์กรที่ปรากฎด้านล่างนี้เป็นอย่างยิ่งในการช่วยเปิดโลกทัศน์จากองค์ความรู้ของพวกท่านเพื่อการเติบโตและพัฒนาของเรา มิตรภาพและการสนับสนุนของท่านได้สร้างแรงบันดาลใจและท้าทายให้เราทำดียิ่งขึ้น ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้














การรณรงค์พิทักษ์สิทธิประโยชน์
การรณรงค์พิทักษ์สิทธิประโยชน์เป็นความพยายามในการสร้างหลักประกันว่าผู้คน โดยเฉพาะผู้ที่เปราะบางที่สุดในสังคมสามารถที่จะส่งเสียงเสียงในประเด็นที่สำคัญกับพวกเขา รวมไปถึงมุมมองและความปรารถนาที่แท้จริงของพวกเขานั้นได้รับการคำนึงถึงเมื่อมีการตัดสินใจใดๆ ก็ตามที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับชีวิตของพวกเขา
ที่มูลนิธิก้าวหน้าพัฒนา เราพิทักษ์สิทธิทุกครอบครัวที่รับบริการของเราในการเรียนรู้วิธีเข้าถึงสิทธิของพวกเขา และที่สำคัญไปกว่านั้นคือการช่วยเสริมสร้างพวกเขาให้มีการแสดงออกทางความคิดซึ่งนำไปสู่การพิทักษ์รักษาสิทธิของตนได้
มูลนิธิก้าวหน้าพัฒนามุ่งมั่นในการที่จะรณรงค์พิทักษ์สิทธิประโยชน์ด้านกฎหมาย เรารู้ว่ากฎหมายและนโยบายที่ดีจะสร้างหลักประกันให้กับนิมิตของเราที่จะเห็นเด็กทุกคนเติบโตขึ้นในครอบครัวที่ปลอดภัยและได้รับการใส่ใจดูแลทั่วประเทศไทย เราทำสิ่งนี้ผ่านการมีส่วนร่วมและให้องค์ความรู้กับรัฐบาลไทยเพื่อสร้างอิทธิพลที่จะแนะนำ ตรากฎหมาย หรือการแก้ไขกฎหมาย
เราได้สร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับผู้มีส่วนสำคัญในการกำหนดนโยบายและมีการทำงานร่วมกับภาครัฐเพื่อหาทางออกของเด็กผู้ลี้ภัยในสถานกักกัน เรามีบทบาทเป็นคณะทำงานกับภารกิจในการยกร่างกฎหมายครอบครัวอุปถัมภ์ของรัฐบาลที่กำลังดำเนินการอยู่อย่างต่อเนื่องขณะนี้ และนอกจากนั้นแล้วยังมีส่วนในการจัดตั้งคณะทำงานขึ้นมาใหม่เพื่อพัฒนาระบบงานเชิงประเด็นด้านการดูเลี้ยงดูทดแทนในประเทศไทย
“ความยุติธรรมคือความรัก ที่ปรากฎในพื้นที่สาธารณะ”
Cornel West
การประสานร่วมมือ
ที่มูลนิธิก้าวหน้าพัฒนา เราเชื่อว่าการประสานร่วมมือและพันธมิตรเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยให้นิมิตของเรากลายเป็นสิ่งที่จับต้องได้ เราตั้งใจที่จะนำผู้คนมารวมกันผ่านโครงสร้างในการบรรลุเป้าหมายเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมจากความคิดริเริ่มที่สร้างผลกระทบให้เกิดขึ้นในภาพรวม

ไปด้วยกันไปได้ไกล
เราเป็นสมาชิกที่ทำงานอย่างแข็งขันใน
คณะทำงานด้านการเลี้ยงดูทดแทนประเทศไทย
เครือข่ายสิทธิผู้ลี้ภัยและคนไร้รัฐ
พันธมิตรสร้างครอบครัวเข้มแข็งประเทศไทย
เครือข่ายครอบครัวต้องมาก่อน
ร่วมคิด ร่วมสร้าง ร่วมเปลี่ยนแปลงไปด้วยกัน
โดยทั่วไปแล้ว การริเริ่มต่างๆมีเงื่อนไข 5 ประการที่ทำงานสอดประสานกันอย่างกลมกลืนและนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ทรงพลัง
เลือกหัวข้อเพื่อดูคำนิยาม
เริ่มต้นด้วยวาระที่มีร่วมกัน
นั่นหมายถึงการรวมตัวเพื่อระบุถึงประเด็นปัญหาร่วมกัน จากนั้นกำหนดสร้างวิสัยทัศน์เพื่อนำไปสู่แก้ไขปัญหานั้นร่วมกัน
มีการกำหนดการวัดผลร่วมกัน
นั่นหมายถึงมีการตกลงที่จะติดตามความก้าวหน้าในแบบเดียวกัน ซึ่งช่วยให้เกิดการพัฒนาที่ต่อเนื่อง
ส่งเสริมกิจกรรมของกันและกัน
นั่นหมายถึงการลงมือลงแรงทำงานร่วมกันเพื่อให้ได้ผลลัพธ์สูงสุด
ส่งเสริมให้เกิดการสื่อสารอย่างต่อเนื่อง
นั่นหมายถึงการสร้างความไว้วางใจและความสัมพันธ์ระหว่างผู้เข้าร่วมทั้งหมด
มีกระดูกสันหลังที่แข็งแกร่ง
นั่นหมายถึงการมีทีมงานที่ทุ่มเทเพื่อเตรียมงานของกลุ่ม
เราได้เห็นแล้วว่าผลกระทบโดยรวมเติบโตขึ้น
เมื่อเราร่วมมือกับกลุ่มเหล่านี้

การเลี้ยงดูทดแทนประเทศไทย
มูลนิธิก้าวหน้าพัฒนาเป็นผู้ก่อตั้งของเครือข่ายสิทธิเด็กประเทศไทย (CRCCT) เราช่วยนำกลุ่มคณะทำงานด้านการเลี้ยงดูทดแทนประเทศไทย (ACT) ภายใต้เครือข่ายสิทธิเด็กประเทศไทย คณะทำงานด้านการเลี้ยงดูทดแทนของเราประกอบด้วยองค์กรพัฒนาเอกชน 15 แห่งที่มีวิสัยทัศน์เดียวกันในการเห็นเด็กเติบโตขึ้นโดยใช้รูปแบบครอบครัวเป็นฐาน คณะทำงานด้านการเลี้ยงดูทดแทนร่วมมือกันในการทำงานเพื่อรณรงค์พิทักษ์สิทธิประโยชน์ สร้างงานวิจัย และพัฒนาขีดความสามารถ

พันธมิตรสร้างครอบครัวเข้มแข็งประเทศไทย
มูลนิธิก้าวหน้าพัฒนาเป็นผู้ก่อตั้งและเป็นพันธมิตรสร้างครอบครัวเข้มแข็งประเทศไทย เครือข่ายนี้เป็นพันธมิตรคริสเตียนที่มีวิสัยทัศน์เดียวกันในการเห็นเด็กๆ เติบโตโดยอยู่ในรูปแบบของการใช้ครอบครัวเป็นฐานโดย งานของเครือข่ายคือการให้การอบรมคริสตจักรท้องถิ่นในการดูแลเด็กกำพร้า เด็กที่อยู่ในภาวะเปราะบางตลอดจนครอบครัวของพวกเขา เราจัดฝึกอบรมพวกเขาเกี่ยวกับวิธีใช้เครื่องมือหลักสูตร โครงการรักษ์ครอบครัวตามแนวทางปฏิบัติของสหประชาชาติสำหรับการเลี้ยงดูทดแทนสำหรับเด็ก การดูแลอุปถัมภ์แบบครอบครัวอุปถัมภ์ และการรับเลี้ยงบุตรบุญธรรม

เครือข่ายสิทธิผู้ลี้ภัยและคนไร้รัฐ (CRSP)
มูลนิธิก้าวหน้าพัฒนาเป็นสมาชิกที่แข็งขันของเครือข่ายสิทธิผู้ลี้ภัยและคนไร้รัฐ(CRSP) ซึ่งเป็นความพยายามร่วมกันขององค์กรภาคประชาสังคม โดยเฉพาะ NGO ในท้องถิ่น นักวิชาการ และนักกฎหมาย โดยมีวัตถุประสงค์ในการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิให้กับผู้ลี้ภัยและบุคคลไร้สัญชาติในเขตเมือง

เครือข่ายครอบครัวต้องมาก่อน (FFA)
มูลนิธิก้าวหน้าพัฒนาเป็นผู้ก่อตั้งและเป็นสมาชิกของเครือข่ายครอบครัวต้องมาก่อน โดยชุมชนแห่งการเรียนรู้นี้ประกอบด้วยองค์กรต่างๆ จากทั่วประเทศไทยที่จัดบริการเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัว สนับสนุนครอบครัว และบริการเชิงป้องกันเพื่อป้องกันการพลัดพรากครอบครัว จุดมุ่งหมายคือการสร้างพื้นที่อย่างมีโครงสร้างสำหรับผู้ปฏิบัติงานเพื่อเป็นแหล่งแรงบันดาลใจและห้องเรียนของกันและกัน