%
จากผลสำรวจพบว่าเด็กถูกพ่อแม่ ผู้ดูแล หรือครูลงโทษอย่าง [1]
%
ของเด็กอายุต่ำกว่า 14 ปีมีประสบการณ์ของการคุกคามด้วยความก้าวร้าวทางอารมณ์ [2]
%
ของเหยื่อของความรุนแรงทางเพศคือเด็กสาววัยรุ่นอายุระหว่าง 10-18 ปี [3]
สถิติที่น่าตกใจข้างต้นเป็นสัญญานที่มาจากความยากลำบากทางเศรษฐกิจที่ยืดเยื้อสำหรับคนไทยหลายล้านคนในช่วงของการแพร่ระบาดใหญ่ของไวรัส โควิด 19 ซึ่งได้สร้างอัตราการล่วงละเมิดในครอบครัวและความรุนแรงต่อผู้หญิงที่เพิ่มขึ้นจากสถิติเดิมที่สูงอยู่แล้ว [4]
ในกรณีความรุนแรงทางเพศส่วนใหญ่ในประเทศไทย เหยื่อรู้จักผู้กระทำความผิด ซึ่งอาจเป็นญาติ เพื่อน หรือแฟนหนุ่ม โดยความรุนแรงมักเกิดขึ้นที่บ้านหรือเคหะสถาน โดยอาจเป็นในบ้านของผู้กระทำความผิดหรือที่บ้านของเหยื่อผู้ถูกกระทำเอง
ยิ่งไปกว่านั้นพฤติกรรมความรุนแรง การคุกคามทางเพศต่อเด็กที่ปรากฎในสื่อหรือละครโทรทัศน์สามารถมีอิทธิพลในทางลบต่อผู้ชมบางกลุ่ม เด็กมีความไวต่อสิ่งกระตุ้นและรับชมฉากเหล่านี้โดยปราศจากการชี้แนะจากผู้ปกครอง สำหรับเด็กเหล่านี้หลายคนมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมอันเป็นผลมาจากความเห็นพฤติกรรมการล่วงละเมิดที่ฉายซ้ำไปซ้ำมาจากสื่อโทรทัศน์จนกลายเป็นที่ยอมรับและนำมาลอกเลียนแบบในชีวิตของพวกเขาเอง [5]
เป็นเรื่องที่น่ากังวลอย่างยิ่งที่การศึกษาพบว่าความรุนแรงในสถานสงเคราะห์มีความรุนแรงมากกว่าการดูแลในครอบครัวอุปถัมภ์ถึง 6 เท่า และเด็กที่อยู่ในความดูแลแบบกลุ่มมีโอกาสประสบกับการถูกล่วงละเมิดทางเพศมากกว่าเด็กที่อยู่ในความดูแลในรูปแบบการใช้ครอบครัวเป็นฐานเกือบ 4 เท่า [6]
ที่มูลนิธิก้าวหน้าพัฒนา เราเชื่อว่าเด็กทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองจากความรุนแรง การถูกล่วงละเมิด การละเลยทอดทิ้ง และการแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ ผลกระทบเชิงลบที่เกิดจากความรุนแรงส่งผลต่อเนื่องในด้านพัฒนาการของเด็กทันที ตัวอย่างเช่น การบาดเจ็บทางกาย ทักษะในการเรียนรู้และการแสดงออกทางการศึกษา จนถึงความทุกข์ทรมานที่ส่งผลเสียระยะยาวในวัยผู้ใหญ่
โครงการและบริการของเรายกระดับองค์ความรู้ในทักษะของการเป็นผู้ปกครองและการปกป้องคุ้มครองเด็ก นอกจากนั้นแล้วยังช่วยสร้างการตระหนักรู้ในวิธีการจัดการกรณีเกิดความรุนแรงในครอบครัวหรือการรับมือกับปัญหาสังคมอื่นๆ โดยการฝึกอบรมที่สำคัญต่างๆ เหล่านี้ ผนวกกับลงพื้นที่เยี่ยมบ้านเพื่อติดตามพูดคุยได้แสดงให้เห็นถึงผลลัพธ์ที่ดีขึ้นสำหรับเด็ก
กฎหมายกำหนดให้เด็กทุกคนในประเทศไทยสามารถเข้าสู่การศึกษาในโรงเรียนได้ โดยไม่คำนึงถึงภูมิหลังหรือสัญชาติ
น่าเสียดายที่การเข้าถึงการศึกษามีความไม่เท่าเทียมกันเนื่องจากครอบครัวที่ยากจนไม่สามารถแบกรับค่าใช้จ่ายในการซื้อหาเครื่องแบบนักเรียน หนังสือเรียน และค่าพาหนะไปกลับระหว่างบ้านและโรงเรียนได้ สัดส่วนที่ใหญ่ที่สุดของเด็กที่ไม่ได้เรียนในโรงเรียนมาจากชุมชนที่ด้อยโอกาส เป็นผู้อพยพเคลื่อนย้าย หรือเป็นเด็กที่มีทุพพลภาพ [1]
จากรายงานของยูนิเซฟ
%
ของเด็กในวัยมัธยมไม่ได้เข้าเรียน
%
ของเด็กวัยประถมศึกษาที่ไม่มีสัญชาติไทย ไม่ได้เข้าเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
%
ของเด็กในวัยมัธยมที่ไม่มีสัญชาติไทยไม่ได้เรียนหนังสือ
มูลนิธิก้าวหน้าพัฒนาให้การช่วยเหลือในด้านทุนสำหรับแผนการสร้างรายได้รายเดือน ทั้งนี้เพื่อให้ครอบครัวมีรายได้ที่เพิ่มขึ้นและมีสภาพชีวิตความเป็นอยู่ดีและมั่นคงขึ้นตามลำดับ การให้การช่วยเหลือในส่วนนี้เป็นการยืนยันถึงศักดิ์ศรีตัวตนของครอบครัวในฐานะผู้ปกครองในการรับผิดชอบต่อค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของบุตรหลานของพวกเขา นอกจากนี้แล้วเรายังช่วยครอบครัวที่จะปกป้องสิทธิในการเข้าถึงบริการต่างๆ อันเกี่ยวเนื่องกับการศึกษา เช่น เรื่องทุนการศึกษา การเรียนพิเศษเพิ่มเติมหลังเลิกเรียนในช่วงเวลาปกติ เราเชื่อว่าความยากจนไม่ควรเป็นเหตุผลที่เด็กต้องออกจากการเรียนหรือระบบการศึกษา
ความเปลี่ยนแปลงเริ่มขึ้นเมื่อเราก้าวไปข้างหน้า
เด็กกว่า 3 ล้านคนในประเทศไทยต้องอยู่โดยแยกจากผู้ปกครอง
ความยากจน การขาดโอกาสในการเข้าถึงการศึกษา และการแตกสลายของครอบครัวเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ครอบครัวต้องแยกออกจากกัน หลายคนอาศัยอยู่กับปู่ ย่า ตา ยาย หรือครอบครัวขยาย แต่พ่อแม่หลายพันคนทั่วประเทศไทยต้องกล้ำกลืนฝืนทนตัดสินใจยกมอบให้ลูกให้อยู่ในสถานเลี้ยงเด็กกำพร้าเพราะพวกเขาไม่มีเงินที่จะซื้อหาอาหารเพื่อประทังชีวิต หรือไม่สามารถที่จะซื้อเครื่องแบบนักเรียนและหนังสือเรียนได้ โดยสถานเลี้ยงเด็กกำพร้าสัญญากับพ่อแม่เหล่านี้ว่าจะให้การศึกษา การดูแลสุขภาพ และความมั่นคงด้านอาหารที่ดีกว่า
อย่างไรก็ตาม การวิจัยแสดงให้เห็นว่าเด็กที่เติบโตมาในสถานสงเคราะห์เด็ก (สถานเลี้ยงเด็กกำพร้า บ้านเด็ก หอพัก) ที่แยกจากครอบครัว จะมีภาวะติดอยู่กับที่และเปราะบาง การขาดความรักความเอาใจใส่จากครอบครัว ทำให้เสี่ยงต่อการถูกทารุณกรรมและถูกแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบมากขึ้น [1]
ข้อค้นพบจากการวิจัยชี้ให้เห็นว่าการใช้การเลี้ยงดูในรูปแบบสถาบันในช่วงในช่วงวัยเยาว์ของเด็กนำไปสู่ความบกพร่องทางเชาว์ปัญญา(IQ) และพฤติกรรมการเรียนรู้ทางสังคมและอารมณ์ (ความผูกพัน) [2] เด็กที่เติบโตขึ้นโดยปราศจากครอบครัวนั้นมีความเสี่ยงกว่าต่อการถูกแสวงหาประโยชน์ทางเพศไปจนถึงการค้ามนุษย์ การศึกษาพบว่าเด็กที่เติบโตขึ้นสถานสงเคราะห์มีความเสี่ยงสูงกว่าในการฆ่าตัวตายและการกลายเป็นคนไร้บ้านเมื่อถึงวัยที่ต้องออกจากการดูแลเมื่อเทียบกับเพื่อนในวัยเดียวกันที่เติบโตขึ้นในครอบครัว [3]
ประเทศไทยกำลังประสบกับวิกฤตการพลัดพรากของครอบครัว จากการวิจัยของมูลนิธิวันสกายพบว่ามีบ้านเด็กมากกว่า 600 แห่งในประเทศไทยมีเด็กต่อบ้านโดยเฉลี่ย 50 คน โดยบ้านเด็กอย่างน้อย 260 แห่งที่ดำเนินการโดยไม่ได้จดทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่มีการกำกับดูแลจากภาครัฐ ซึ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงให้กับเด็ก
โรงเรียนประจำและบ้านพัก (หอพัก) สำหรับเด็กที่มาจากชุมชนที่ขาดแคลนทรัพยากร ผู้ขาดโอกาสในการเข้าถึงการศึกษายังคงเป็นปัญหาใหญ่ โดยมีเด็ก 33,000 คนที่อาศัยอยู่ในโรงเรียนประจำของรัฐบาลในปัจจุบัน คณะทำงานเชิงประเด็นการเลี้ยงดูทดแทนประเทศไทย (ACT) ประมาณการว่าบ้านพักของเอกชนมีจำนวนสูงขึ้นมาก และมักจะไม่ได้ขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้อง
จากแผนที่ด้านล่างจะเห็นได้ว่ามีการพึ่งพากับการดูแลในรูปแบบสถาบันที่มากในประเทศไทย อีกทั้งยังไม่มีรูปแบบของบริการที่สนับสนุนการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับครอบครัวที่เพียงพอเพื่อให้เด็กสามารถที่จะอยู่กับครอบครัวต่อไปได้ ยังมีบ้านพักเด็กอีกหลายร้อยแห่งที่ซึ่งเด็กต้องถูกแยกจากครอบครัวเพื่อที่จะได้ไปโรงเรียนรวมอยู่ในแผนที่นี้
เด็กทุกคนควรอยู่ในครอบครัวที่ปลอดภัยและได้รับการเอาใจใส่ดูแล
คงจะวิเศษไม่เบาใช่ไหมหากจุดสีแดงทั้งหมดบนแผนที่เปลี่ยนเป็นสีเขียว?
เราสามารถทำเช่นนี้ แต่เราต้องการความช่วยเหลือของคุณ!
พิจารณาสนับสนุนให้กับมูลนิธิก้าวหน้าพัฒนาเพื่อช่วยเราในการเปลี่ยนแผนที่นั้น!
คุณรู้หรือไม่ว่ามีเพียง 19% ของเด็กไทยที่เติบโตมาในสภาพแวดล้อมแบบครอบครัวแบบดั้งเดิม?
ครอบครัวของประเทศไทยเข้าสู่สภาวะวิกฤต ข้อมูลด้านล่างนี้แสดงการจัดประเภทความเป็นอยู่ของเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ในประเทศไทย
%
มีเพียงมารดา
%
มีเพียงบิดา
%
ไม่มีผู้ปกครอง
%
มีผู้ปกครองที่ยังอยู่ครบ
ตัวเลขเหล่านี้ยังไม่รวมถึงเด็กที่อยู่ในสถานรับเลี้ยงเด็ก: สถานเลี้ยงเด็กกำพร้า บ้านเด็ก โรงเรียนประจำ หรือบ้านพัก (หอพัก)
เด็กหลายล้านคนในประเทศไทยเติบโตขึ้นโดยไม่ได้รับการดูแลจากพ่อแม่ผู้ให้กำเนิด สาเหตุหลักมาจากการโยกย้ายถิ่นภายในประเทศ เด็กสาวหลายพันคน (มักเป็นแม่วัยใส) ออกจากโรงเรียและอพยพไปยังเมืองใหญ่เพื่อโอกาาสทางการงาน โดยทิ้งลูกเล็กๆ ของพวกเธอไว้กับคุณย่า/คุณยาย และแม่วัยใสเหล่านี้ได้กลายเป็นผู้ที่เสี่ยงต่อการถูกแสวงหาประโยชน์ทางเพศ
90% มีครอบครัว
การสำรวจรายงานการวิจัยมายาคติต่อ “บ้านเด็กกำพร้า” ในประเทศไทย ชี้ให้เห็นว่ามากกว่า 90% ของเด็กที่เติบโตขึ้นในสถานสงเคราะห์ในประเทศไทยยังมีครอบครัวอยู่ แต่น่าเศร้าเหลือเกินที่ความยากจนและการขาดโอกาสในการเข้าถึงการศึกษานั้นผลักให้ผู้ปกครองจำต้องส่งลูกออกไป ก่อให้เกิดสาเหตุของการพลัดพรากและผลเสียอื่นๆ
แต่ยังมีหวัง!
เด็กที่ถูกแยกออกจากครอบครัวและอยู่ในบ้านเด็กกำพร้าสามารถกลับสู่บ้านได้อย่างปลอดภัยเมื่อครอบครัวได้รับการประเมินประกอบกับบริการที่เหมาะสมเพื่อให้ครอบครัวได้กลับมาอยู่ร่วมกันพร้อมหน้า
สำหรับกรณีที่ไม่มีทางช่วยให้เด็กคงอยู่กับครอบครัวได้ ควรพิจารณาการเลี้ยงดูแนวทางการแก้ไขปัญหาโดยใช้รูปแบบครอบครัวเป็นฐานควรเป็นอันดับแรก (การดูแลในรูปแบบเครือญาติอุปถัมภ์ ครอบครัวอุปถัมภ์ การรับบุตรบุญธรรม) การส่งเด็กเข้าสู่สถาบันเลี้ยงดูทดแทนควรเป็นทางเลือกสุดท้าย รวมถึงบ้านที่เลี้ยงเด็กเป็นกลุ่มขนาดเล็กในสภาพคล้ายครอบครัวครอบครัวในชุมชน
วิสัยทัศน์ของมูลนิธิก้าวหน้าพัฒนาคือที่จะเห็นเด็กทุกคนในประเทศไทยเติบโตขึ้นในครอบครัวที่ปลอดภัยและได้รับการเอาใจใส่ดูแล ซึ่งจะเป็นไปได้โดยการสนับสนุนของคุณ! โครงการ “รักษ์ครอบครัว” ของเราดำเนินการเพื่อเสริมสร้างครอบครัวด้วยการอบรมเพื่อพัฒนาแบบองค์รวม การสนับสนุนทุนแผนการสร้างรายได้รายเดือน โอกาสทางการศึกษา การสนับสนุนด้านจิตสังคม และการเข้าบริการด้านสุขภาพ
ด้วยค่าใช้จ่ายเพียงเล็กน้อยในการสนับสนุนเด็กในสถานเลี้ยงเด็กกำพร้า Step Ahead สามารถช่วยเหลือครอบครัวในชุมชนที่เปราะบางได้
ช่วยเราเดินหน้าต่อเพื่อเสริมสร้างความเข็มแข็งให้ครอบครัวทั่วประเทศไทย
รายงานการติดตามและการดำเนินงานต่อต้านการค้ามนุษย์ หรือ Trafficking in Persons (TIP) report ปี 2016 (2559) อธิบายว่าการค้ามนุษย์นั้นมีหลายแง่มุม สลับซับซ้อน และเป็นความลับ ต้นตอสาเหตุของอาชญากรรมนั้นลึกซึ้งกว่าแง่มุมใดแง่มุมหนึ่ง และเกี่ยวข้องกับเงื่อนไขทางระบบโครงสร้างที่ใหญ่กว่า เช่น ความยากจน การย้ายถิ่นโดยบังคับ การเหยียดเชื้อชาติ และการเลือกปฏิบัติ และอื่นๆ อีกมากมาย การทำความเข้าใจการค้ามนุษย์ในบริบทท้องถิ่นมีความสำคัญต่อการพัฒนาการตอบสนองที่มีความหมาย
ตัวอย่างเช่น นักค้ามนุษย์อาจใช้ความหวังและความฝันของผู้ปกครองที่ขวนขวายหาวิธีให้บุตรหลานของตนได้รับการศึกษาที่ดีมาเป็นวิธีการล่าเหยื่อ การใช้ความหวาดกลัวของชุมชนเปราะบางในการให้เจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายซึ่งมีชื่อทางในทางทุจริตโดยมิชอบเข้ามามีส่วนร่วม หรืออาศัยอคติการเลือกปฏิบัติเพื่อกลบเกลื่อนเหยื่อผู้ถูกกระทำให้พ้นจากการพบเห็นโดยผิวเผินทั่วไป [1]
เด็กที่อยู่ในความดูแลรูปแบบสถาบัน ซึ่งรวมถึงหน่วยบริการที่ดำเนินการโดยรัฐ สามารถตกเป็นเป้าหมายที่สำหรับผู้ลักลอบค้ามนุษย์ได้โดยง่าย แม้ว่าจะเป็นสถานเลี้ยงเด็กกำพร้าและบ้านเด็กที่ดีที่สุดก็ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของเด็กในการสนับสนุนทางด้านอารมณ์ที่ได้รับจากสมาชิกในครอบครัวตามปกติ หรือการมีผู้ดูแลที่สม่ำเสมอกันผู้ซึ่งเด็กสามารถสามารถพัฒนาสายสัมพันธ์ได้
ผลกระทบทางร่างกายและจิตใจของการอยู่ในสถาบันเลี้ยงดูทดแทนผนวกเข้ากับความโดดเดี่ยวทางสังคม อีกทั้งการควบคุมดูแลด้านกฎระเบียบที่ต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนดโดยรัฐบาล ทำให้เด็กเหล่านี้ตกอยู่ในสถานการณ์ที่เสี่ยงต่อการค้ามนุษย์มากขึ้น
ผู้ค้ามนุษย์ตระหนักดีถึงความเปราะบางของเด็กที่เติบโตขึ้นมาโดยไม่มีผู้ปกครองที่มั่นคงและใช้ประโยชน์จากความต้องการนี้ในการผูกสายสัมพันธ์ทางอารมณ์ นอกจากนี้ ตารางเวลาที่เข้มงวดและการแยกตัวทางสังคมของสถาบันเลี้ยงดูทดแทนยังช่วยให้ผู้ค้ามนุษย์ได้เปรียบในรูปแบบวิธี เนื่องจากพวกเขาสามารถบีบบังคับให้เด็กออกจากการดูแลและหาวิธีในการที่จะแสวงหาประโยชน์จากพวกเขา
โครงการรักษ์ครอบครัวจัดการปัญหาของการค้ามนุษย์ที่รากของมัน
แทนที่จะแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปเรื่องๆ (การเข้าช่วยเหลือผู้ตกเป็นเหยื่อ) โครงการรักษ์ครอบครัวของเรา (KFT) ดำเนินงานเพื่อป้องกันอันตรายจากปัญหาการค้ามนุษย์ก่อนที่มันจะเกิดขึ้น
คลิกที่รากปัญหาแต่ละด้าน เพื่อค้นหาวิธีแก้ปัญหา
รากปัญหาที่ 1 ความยากจนและหนี้สิน
มีงานวิจัยที่ชี้ให้เห็นว่าความยากจนและการขาดการจ้างงานสร้างแรงกดดันต่อครอบครัวซึ่งทำให้พวกเขาเสี่ยงในการตกเป็นเหยื่อจากผู้ค้ามนุษย์
แนวทางการจัดการกับรากปัญหาที่ 1 ความรู้ทางการเงิน และความช่วยเหลือในการสร้างรายได้
KFT เน้นความสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถให้กับผู้ดูแลที่จะมีความมั่นคงด้านทักษะทางการเงิน โดยผ่านการให้ความรู้ทางการเงินควบคู่ไปกับความช่วยเหลือในการสร้างรายได้ เพื่อช่วยดึงทั้งครอบครัวออกจากความยากจน ซึ่งทำให้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่มีความเสี่ยงต่อการค้ามนุษย์น้อยลง
รากปัญหาที่ 2 ขาดโอกาสในการเข้าถึงการศึกษา
การศึกษาแสดงให้เห็นว่าเด็กที่มีความเสี่ยงสูงจากการถูกค้ามนุษย์จะมีอดีตของการถูกล่วงละเมิด ความยากจน และการขาดโอกาสในการเข้าถึงการศึกษา
แนวทางการจัดการกับรากปัญหาที่ 2 สนับสนุนด้านการศึกษา
KFT เข้าจัดการกับเรื่องทางการเงิน สังคม และอุปสรรคทางด้านจิตใจเพื่อส่งต่อองค์ความรู้ให้กับทั้งผู้ใหญ่และเด็ก เราเน้นย้ำถึงความสำคัญของการศึกษาให้กับผู้ดูแล และอนาคตของบุตรหลานของพวกเขาที่เป็นผลมาจากการอยู่ในระบบการศึกษา อีกทั้งเรายังให้การช่วยเหลือสนับสนุนครอบครัวในการเข้าถึงทุนการศึกษา รวมไปจนถึงเรื่องของเครื่องแบบและหนังสือเรียนที่จัดให้โดยรัฐ
รากปัญหาที่ 3 การล่วงละเมิดเด็ก การละเลยทอดทิ้ง และบาดแผลทางใจ
ประวัติของเด็กที่ถูกล่วงละเมิด การถูกละเลยทอดทิ้ง และมีบาดแผลทางใจพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าเป็นปัจจัยร่วมของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์
แนวทางการจัดการกับรากปัญหาที่ 3 การคุ้มครองเด็กและการอบรมเลี้ยงดูในเชิงบวก
ผู้เข้าร่วมโครงการ KFT ไม่เพียงแต่มีความรู้เรื่องการล่วงละเมิดเด็กคืออะไรและจะสามารถปกป้องบุตรหลานของพวกเขาได้อย่างไรเท่านั้น แต่พวกเขายังจะได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับทางเลือกรูปแบบอื่นๆ ในการเข้าหา การเลี้ยงดู และการทำหน้าที่ของผู้ปกครองควบคู่ไปด้วย
เด็กในโครงการ KFT จะได้รับการสอนเกี่ยวกับการสัมผัสที่ดี / การสัมผัสที่ไม่ดี และวิธีป้องกันตนเองจากอาชญากรหรือผู้ล่า เหยื่อ คนแปลกหน้า และผู้ที่มีพฤติกรรมในทางกลั่นแกล้ง
รากปัญหาที่ 4 สื่อลามกและการแสวงหาประโยชน์ทางดิจิทัล
การล่วงละเมิดและการแสวงหาประโยชน์จากเด็กทางสื่อออนไลน์กำลังเพิ่มขึ้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยมีการเข้าถึงทางเว็บไซต์ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นธุรกิจที่เฟื่องฟูโดยมีกำไรประมาณ 90-600 พันล้านบาทต่อปี ซึ่งประเทศไทยถูกระบุว่าเป็นผู้จัดหาสื่อลามกรายใหญ่
แนวทางการจัดการกับรากปัญหาที่ 4 การฝึกอบรมความปลอดภัยทางอินเทอร์เน็ต
โครงการ KFT มีหลักสูตรในการสอนสำหรับทั้งผู้ดูแลและบุตรหลานเกี่ยวกับอันตรายของอินเทอร์เน็ตรวมไปถึงวิธีป้องกันตนเองจากอาชญากรหรืผู้ล่าออนไลน์ ผู้ดูแลจะได้รับคำแนะนำในการติดตามดูว่าบุตรหลานกำลังทำอะไรทางออนไลน์และจะปกป้องพวกเขาจากอันตรายที่แท้จริงของผู้ค้ามนุษย์ที่ปฏิบัติการทางออนไลน์ได้อย่างไร
รากปัญหาที่ 5 ครอบครัวแตกสลาย
ครอบครัวที่ไม่สามารถทำหน้าที่ได้เป็นหนึ่งในปัจจัยมูลเหตุร่วมสำคัญในบ้านของเด็กหรือผู้เปราะบางต่อการตกเป็นเหยื่อของผู้ใหญ่ที่อาจจะเป็นผู้ทำการค้ามนุษย์
แนวทางการจัดการกับรากปัญหาที่ 5 การแนะแนวเกี่ยวกับความสัมพันธ์ที่ราบรื่นและยืนยาวและแนวทางในการจัดการกับความขัดแย้ง
ในขณะที่จำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อประเมินโครงการและนโยบายที่ช่วยลดปัญหาการค้ามนุษย์และการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ แต่ก็มีแนวทางปฏิบัติที่ดีซึ่งมีความครอบคลุมทั้งการส่งเสริมพฤติกรรมที่ดี เรื่องของความสัมพันธ์ ตลอดจนการเสริมสร้างความเข้มแข็งครอบครัวและชุมชน
รากปัญหาที่ 6 เด็กที่ถูกแยกจากครอบครัวหรือเติบโตในสถาบันเลี้ยงดูทดแทน
รายงานการติดตามและการดำเนินงานต่อต้านการค้ามนุษย์ หรือ Trafficking in Persons (TIP) report ปี 2018 (2561 หน้า 22) มีการให้เหตุผลที่ชัดเจนหลายประการที่ระบุว่าเด็กซึ่งถูกแยกออกจากครอบครัวและอยู่ในการดูแลของสถาบันเลี้ยงดูทดแทนเป็นผู้ที่มีความเปราะบางเป็นอย่างยิ่งต่อการถูกค้ามนุษย์
แนวทางการจัดการกับรากปัญหาที่ 6 การรณรงค์พิทักษ์สิทธิประโยชน์ การฝึกอบรมให้กับพลังทางสังคม รวมไปถึงบ้านเด็กกำพร้า
ผู้ปฏิบัติงานของโครงการ KFT ผ่านการฝึกอบรมในเรื่องของผลกระทบที่เป็นอันตรายของเด็กที่เติบโตในสถาบันเลี้ยงดูทดแทน และเป็นผู้มีความพร้อมที่จะเข้าจัดการปัญหาร่วมกับครอบครัวสมาชิกในโครงการหากพวกเขาต้องเผชิญกับภาวะสิ้นหวัง นอกจากนี้แล้ว มูลนิธิก้าวหน้าพัฒนายังทำหน้าที่ในการพิทักษ์สิทธิด้านนโยบายของรัฐเพื่อที่จะทำให้เด็กทุกคนจะเติบโตขึ้นในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและได้รับการใส่ใจดูแล